t3a logo

เจตจำนง

มูลนิธิเพื่อชีวิตสุขวัยที่สาม จัดตั้งในปี 2551 โดยมุ่งส่งเสริมความสุขของผู้สูงอายุ ผ่าน 3 กิจกรรมหลัก

  1. การพัฒนาผู้ดูแลผู้สูงอายุ
  2. การเรียนรู้ตลอดชีวิต
  3. การมีส่วนร่วม

การพัฒนาดูแลผู้สูงอายุ

ครอบครัว…ความสุขของผู้สูงอายุ…

ยังมีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่ยังแข็งแรงแต่ด้วยสมรรถนะของร่างกายที่ถดถอยและเริ่มต้องพึ่งพาผู้อื่นในกิจวัตรประจำผู้สูงอายุกลุ่มนี้ขาดผู้ช่วยที่รู้งานมีทักษะและมีจิตใจดีคอยช่วยจัดการความต้องการส่วนตัวให้เท่าที่จำเป็นคือที่ทำเองไม่ได้หรือไม่ปลอดภัยที่จะทำเองทั้งยังเป็นเพื่อนคุยเป็นผู้ช่วยระแวดระวังดูแลความปลอดภัยอยู่ห่างๆและไม่ปล่อยให้อยู่คนเดียว

ในสังคมไทยครอบครัวถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตบั้นปลายได้อย่างมีความสุขผู้สูงอายุถือเป็นบุคคลในครอบครัวที่ควรได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคนในครอบครัวไม่น้อยกว่าคนอื่นๆถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะดูแลผู้ที่เคยดูแลเราให้สมกับความรักความปรารถนาดีที่พวกเขามีให้เราเมื่อครั้งยังแบเบาะมากกว่าทอดทิ้งให้ใช้ชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว

ในปี 2557 มูลนิธิเพื่อชีวิตสุขวัยที่สามได้ร่วมมือกับคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล จัดตั้งโครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อผู้สูงอายุที่บ้าน บนแนวคิดเพื่อสร้างบุคคลากรที่เป็นต้นแบบของความเป็นผู้ให้บริการผู้สูงอายุที่มีคุณภาพสูง คือเป็นทั้งผู้มีใจรัก มีทัศนคติ มีวินัย ทั้งมีความชำนาญพิเศษเรื่องการช่วยผู้สูงอายุให้รู้จักระวังและลดความเสี่ยงจากการล้ม ให้มีวิถีชีวิตที่เบิกบาน (อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย) และสมรรถนะด้านความทรงจำเพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้สูงวัยที่ยังแข็งแรง ที่ต้องการผู้ช่วยคอยบริการและบำรุงวิถีชีวิตให้มีคุณภาพ ยืดเวลาไม่ให้ร่างกาย และ จิตใจถดถอยและเสื่อมไปเร็วกว่าที่ควรเป็น

การเรียนรู้ตลอดชีวิต

มูลนิธิเพื่อชีวิตสุขวัยที่สามส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือ Lifelong Learning เพราะการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีความสำคัญมากขึ้นในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นเสมือนของขวัญที่มีคุณค่ากับชีวิต

ผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต

การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับทุกวัย ไม่เว้นแม้แต่ผู้สูงอายุ และเป็นวิธีที่ดีในการทำให้จิตใจและร่างกายกระฉับกระเฉงและมีส่วนสำคัญในการทำให้มีความสุขและมีสุขภาพดี ไม่ว่าจะเป็นการเรียนในห้องเรียนที่เป็นทางการมากขึ้นหรือเพียงแค่เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ จากเพื่อน เราควรสนับสนุนให้คนที่เรารักแสวงหาความรู้ และการเรียนรู้จะสำคัญมากเมื่อเราอายุมากขึ้น

สมองที่มีสุขภาพดีขึ้น

สิ่งสำคัญคือต้องทำให้สมองได้ใช้งานเมื่อเราอายุมากขึ้นการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆหรือเรื่องใหม่ๆเป็นวิธีที่ดีในการทำให้สมองยังคงความเฉียบแหลมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องสามารถปรับปรุงความจำได้

ร่างกายที่แข็งแรงขึ้น

นักวิจัยจาก Harvard และ Princeton มีข้อค้นพบที่น่าประทับใจยิ่งว่าในการวิจัยเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างการเรียนรู้ตลอดชีวิตกับสุขภาพว่า การศึกษาเพิ่มอีก 1 ปี สามารถเพิ่มอายุขัยโดย 0.18 ปี พวกเขาค้นพบว่ายิ่งบุคคลได้รับการศึกษามากเท่าใด อัตราของความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าก็จะลดลง รวมถึงโรคเฉียบพลันและเรื้อรังที่พบบ่อยที่สุด ถึงแม้ว่าตอนนี้มีการถกเถียงกันเรื่อง“ ไก่กับไข่” ว่าระดับการศึกษาที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดผลลัพธ์ด้านสุขภาพในเชิงบวก หรือคนที่มีสุขภาพดีขึ้น (อาจจะขึ้นอยู่กับปัจจัยการดำเนินชีวิตเช่นการดื่ม การสูบบุหรี่ พฤติกรรมการกิน ฯลฯ หรือ ผลกระทบของสถานะทางเศรษฐกิจของพวกเขา) มีแนวโน้มที่จะแสวงหาโอกาสทางการศึกษามากขึ้น

จิตใจที่เบิกบานขึ้น

การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆเป็นวิธีที่ดีในการเพิ่มความนับถือตนเองเมื่อคุณเรียนรู้ทักษะใหม่คุณจะรู้สึกแข็งแกร่งมั่นใจมากขึ้นและภูมิใจในตัวเองทักษะใหม่สามารถทำให้คุณรู้สึกถึงความเป็นอิสระมากขึ้นซึ่งจะทำให้คุณมีความสุขการศึกษาชิ้นหนึ่งชี้ให้เห็นว่าความเชื่อที่ว่าคุณฉลาดและมีจิตใจที่เข้มแข็งสามารถช่วยป้องกันความจำเสื่อมได้

สวมหมวกความคิดของคุณ

มีโอกาสการเรียนรู้ตลอดชีวิตมากมายสำหรับผู้สูงอายุ หรือคุณครูที่เกษียณแล้ว หากคุณอยู่บ้าน คุณสามารถเข้าร่วม Online Workshop ของเรา ซึ่งจัดขึ้นทุกเดือน หรือหากคุณกำลังมองหางานอดิเรกใหม่ ๆ ที่กระตุ้นสติปัญญา เช่น การวาดภาพ ร้องเพลง เราสามารถให้คำแนะนำได้ ห้องสมุดถือเป็นแหล่งข้อมูลที่ยอดเยี่ยมอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งถือเป็นขุมทรัพย์ของหนังสือที่กระตุ้นทั้งสมองและจิตใจ

ข่าวประชาสัมพันธ์ 

นวัตกรรมหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุในยุคดิจิทัล

graphic

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ร่วมกับโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทยจัดทำหลักสูตรนวัตกรรมการดูแลผู้สูงอายุในยุคดิจิทัล ผ่านการเรียนการสอนรูปแบบบทเรียนออนไลน์แบบเปิด (MOOC) จำนวน 200 ชั่วโมง

ท่านสามารถศึกษาข้อมูลภาพรวมและวิชาต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงการฯ >> https://bit.ly/thaimooceldercare

คู่มือการสมัครและเรียนบน Platform Thai MOOC >> https://anyflip.com/ljyv/fyhd

โครงการของมูลนิธิเพื่อชีวิตสุขวัยที่สาม

สร้างบุคลากรเพื่อดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน

mou

9 ตุลาคม 2556 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

รศ.พญ.เยาวลักษณ์ สุขธนะ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และนายปรีชา สนั่นวัฒนานนท์ กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิเพื่อชีวิตสุขวัยที่สามร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการพัฒนาและสร้างบุคลากรเพื่อดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน  มูลนิธิฯ จะออกแคมเปญจัดหาทุนการศึกษา และคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติดีแต่ขาดทุนทรัพย์เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรดูแลผู้สูงอายุของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน โดยมุ่งเน้น 4 ด้าน เพื่อยกระดับคุณภาพการดูแลผู้สูงอายุ ได้แก่ การดูแลด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ เพื่อก่อให้เกิดสุขภาวะที่ดี การสื่อสารที่ดี และการดูแลที่ถูกสุขลักษณะต่อผู้สูงอายุ โดยมีประธานและกรรมการจากสมาคมเวิลด์ไดแด็คร่วมเป็นสักขีพยาน

พิธีเปิดหลักสูตร “การดูแลผู้สูงอายุ” รุ่นที่ 2  วันที่ 3 มีนาคม 2557 ซึ่งทางโครงการได้คัดเลือกผู้เข้าอบรมหลักสูตรดูแลผู้สูงอายุเรียบร้อยแล้ว เป็นจำนวน 12 คน โดยจะเริ่มเข้าอบรมตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม – 10 เมษายน 2557 และพิธีมอบประกาศนียบัตร หลักสูตรการอบรมดูแลผู้สูงอายุ ในวันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน 2557

การมีส่วนร่วมในงานเวิลด์ไดแด็ค เอเชีย

world class educational resource

ทีมงานและกลุ่มอาสาสมัครมีความภูมิใจที่งานเวิลด์ไดแด็ค เอเชีย เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อสนับสนุนการทำงานของมูลนิธิ โดยคุณปรีชา สนั่นวัฒนานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารการจัดงานเวิลด์ไดแด็ค เอเชีย ได้ให้สัมภาษณ์กับ ผศ. ดร.ธนวรรณ พิณรัตน์ และ ผศ.ดร.สกล ธีระวรัญญู ไว้ในรายการ Saturday Night Live นบม. เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2561

ช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19

covid donation

มูลนิธิเพื่อชีวิตสุขวัยที่สาม ในความอุปถัมภ์ของกลุ่มอาสาสมัครร่วมกิจกรรมจัดหาทุนให้กับมูลนิธิบริจาคเงินจำนวน 500,000 บาท ให้กับโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ เพื่อสนับสนุนภารกิจช่วยเหลือการแก้ไขปัญหาโควิด-19 (COVID-19) ทั้งนี้ โรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ ได้ปรับอาคารหอพักบริเวณมหาวิทยาลัยให้กลายเป็น “โรงพยาบาลสนาม”ขนาด 308 เตียง เพื่อรองรับผู้ป่วยโควิด-19

สนใจมีส่วนร่วมกับมูลนิธิเพื่อชีวิตสุขวัยที่สาม ติดต่อ Thai3rdAgeFoundation@gmail.com